เนื่องจากการเดินทางส่วนใหญ่ของคนญี่ปุ่นมักใช้รถไฟในการเดินทางเป็นพาหนะหลัก ทำให้คนไทยอย่างเราที่เคยชินกับการขึ้นรถเมล์ต้องเรียนรู้วิธีการขึ้นรถไฟของคนญี่ปุ่นเพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ตอนไปอยู่ครั้งแรกก็งงมากเลยคะ คันจิก็รู้น้อยมากและแผนที่รถไฟส่วนใหญ่เป็นคันจิหมดทำให้เรายิ่งลำบากมากขึ้นไปอีกและมีรถไฟหลายสายมาก อีกทั้งวิธีการซื้อตั๋วก็ต้องเรียนรู้ให้ดีคะเพราะรถไฟนั้นมีหลายประเภททั้งแบบธรรมดา แบบด่วนและแบบอื่นๆอีกมากมายหลากหลายซึ่งแต่ละแบบจุดหมายปลายทางเดียวกันแต่ราคาไม่เท่ากันคะ และวันเสาร์-อาทิตย์ก็แตกต่างจากวันธรรมดาด้วยคะเราต้องดูตารางเวลาออกของรถไฟให้ดีและสอบถามชานชาลาที่จะขึ้นให้แน่นอน ตอนแรกที่มาอยู่ที่นี่ใหม่ๆขึ้นรถไฟไม่เป็นเลยคะได้แต่อาศัยเพื่อนๆ ทำตามเพื่อนทั้งหมดเลยคะ เรียกได้ว่าเพื่อนไปไหนเราไปด้วยหรือถ้าหลงออกจากกลุ่มก็กลับบ้านไม่ถูกเลยละคะ ครั้งแรกที่ขึ้นรถไฟเองคนเดียวคือตอนกลับจากการไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยที่โตเกียวซึ่งต้องแยกกับเพื่อนที่สถานีนัมบะ ตอนนั้นตื่นเต้นมากคะถึงแม้เพื่อนจะมาส่งและอธิบายการเดินทางให้เราฟังแล้วก็ตาม ครั้งนั้นเรียกได้ว่านับสถานีที่รถไฟจอดตลอดทางเลยคะ เพราะกลัวลงผิดสถานี แต่พออยู่ไปเรื่อยๆก็สังเกตวิธีการดูตารางเวลาการออกรถไฟ ประเภทรถไฟแบบต่างๆและให้เพื่อนช่วยอธิบายในสิ่งที่เราไม่เข้าใจทำให้สามารถขึ้นรถไฟไปไหนมาไหนเองได้แล้วคะ แต่กว่าจะขึ้นรถไฟเป็นก็ตอนอาทิตย์สุดท้ายก่อนจะกลับนั่นแหละคะ
เครื่องซื้อตั๋วโดยสารรถไฟฟ้า
ตั๋วรถไฟ
ป้ายแจ้งเวลาการออกรถไฟ
ทางเข้าที่ต้องสอดตั๋วโดยสารเพื่อเข้าไปรอรถไฟ
บรรยากาศภายในรถไฟฟ้า
2.สินค้าส่วนใหญ่เป็นภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด
ภาษาอังกฤษไม่ค่อยมีคะอาจจะเป็นเพราะว่าคนญี่ปุ่นมีความเป็นชาตินิยมสูง เวลาที่เราไปซื้อสินค้าจึงมีแต่ภาษาญี่ปุ่นคะ ทั้งชนิดสินค้าและคำอธิบายไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคหรือบริโภคและในสิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับเราก็คือเรายังไม่เก่งภาษาญี่ปุ่นและคันจิที่รู้ก็น้อยมากคะ ทำให้ลำบากมากเวลาที่จะซื้อของ ตอนนั้นต้องการจะไปซื้อน้ำยาซักผ้าแต่แยกไม่ออกเลยคะว่าอันไหนคือน้ำยาซักผ้าหรืออันไหนคือน้ำยาปรับผ้านุ่มกลัวจะซื้อผิดมากเลยคะ เนื่องจากชื่อผลิตภัณฑ์เป็นคันจิเราอ่านไม่ออกเลยต้องรบกวนเพื่อนชาวจีนช่วยดูให้คะ
เมนูอาหาร
สินค้าใน Supermarket
3.อาหารไม่ถูกปาก
ในช่วงแรกๆที่ไปอยู่ญี่ปุ่นทานอาหารอะไรก็ไม่ถูกปากเลยคะ ต้องกลับมาทานมาม่าที่ห้องตลอดเลยเพราะรสชาติอาหารญี่ปุ่นเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ามีรสชาติจืด ซึ่งแตกต่างจากรสชาติของอาหารบ้านเราที่มีรสจัด ทำให้ช่วงแรกของการปรับตัวทานอะไรก็ไม่อร่อยเลยคะ อาหารเหลือทุกมื้อแต่พออยู่ๆไปเรื่อยๆเราจะรู้แล้วว่าอาหารแบบไหน ชนิดไหนที่ถูกปากเราแล้วเราสามารถทานได้ทำให้สามารถเลือกทานได้แล้ว
อาหารช่วงแรกที่ไม่ค่อยถูกปากคะ
4.อากาศ
เนื่องจากโปรแกรมที่เข้าร่วมในครั้งนี้เป็นช่วงฤดูหนาวคะ ทำให้เราต้องปรับตัวอย่างมากเพราะต้องทำให้ร่างกายอบอุ่นอยู่ตลอดเวลาคะ ต้องใส่เสื้อโค้ทตลอด และที่ศูนย์อากาศจะหนาวมากกว่าปกติเพราะอยู่ติดทะเลคะ นอกจากอากาศหนาวแล้วยังมีลมทะเลมาเสริมอีกทำให้หนาวมากขึ้นคะ แต่ที่ทำให้เรามีปัญหาคืออาการคันผิวหนังคะเพราะว่าอากาศหนาวทำให้ผิดแห้งมากแห้งจนเกิดอาการคันผิวหนังคะ โลชั่นทาผิวที่เตรียมไปจากเมืองไทยไม่สามารถให้ความชุ่มชื้นกับผิวได้เพียงพอ เราต้องไปซื้อใหม่คะต้องเลือกแบบที่ให้ความชุ่มชื้นสูงและต้องทาให้ทั่วตัวนะคะไม่อย่างนั้นบริเวณที่ไม่ได้ทาก็จะเกิดอาการคันขึ้นมาอีกได้คะ แนะนำให้พกเบบี้ออยล์ไปด้วยก็จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวได้อีกคะ
ช่วงฤดูหนาว
5.ความลำบากในการสื่อสาร
เพราะการที่เรามีทักษะภาษาญี่ปุ่นไม่ดี รู้คำศัพท์น้อยทำให้การสื่อสารกับเพื่อนๆเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะเวลาที่เราต้องการอธิบายหรือบอกเหตุผลอะไรสักอย่างเพื่อให้เพื่อนเข้าใจจึงมักจะเป็นเรื่องยาก จนทำให้บางครั้งถึงกับอึดอัดและเหนื่อยมากเลยคะที่ต้องพยายามสื่อสารให้เพื่อนเข้าใจในสิ่งที่เราอยากจะบอก โดยเฉพาะเวลาทำงานกลุ่มร่วมกันและต้องออกความคิดเห็นซึ่งบางทีเรามีไอเดียที่ดีอยากจะนำเสนอให้เพื่อนๆแต่เราไม่สามารถอธิบายให้เพื่อนเข้าใจได้มันก็ทำให้เรารู้สึกอึดอัดมากเลยคะ ต้องใช้เวลาในการปรับตัวเพื่อที่จะเข้าใจว่าถ้าจะอธิบายอย่างนี้ควรจะพูดอย่างไร
trouble is a friend 555
ตอบลบ