1.คันจิเป็นเรื่องสำคัญมาก
เพราะที่นี่ส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นป้ายบอกทาง ฉลากของสินค้า เอกสารต่างๆ ฯลฯ ล้วนแต่เป็นคันจิทั้งหมดเลยคะ ส่วนใหญ่สินค้าต่างๆจะไม่ค่อยมีคำอธิบายเป็นภาษาอังกฤษด้วย หากเราไม่เข้าใจคันจิหรือไม่สามารถอ่านคันจิได้ ก็จะทำให้เรารู้สึกลำบากมากเวลาที่เราต้องเดินทางไปไหนหรือต้องการซื้อของใช้ที่จำเป็น เพราะฉะนั้นจึงควรฝึกฝนและทบทวนคันจิอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อเป็นประโยชน์ให้กับตัวเราเองเวลาไปอยู่ที่ญี่ปุ่นคะ
2.เรียนภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม
เพราะความรู้ที่เรียนในมหาวิทยาลัยนั้นไม่เพียงพอเนื่องจากมหาวิทยาลัยของเราสอนภาษาญี่ปุ่นตั้งแต่เริ่มต้นสำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน และมีเวลาในการเรียนน้อยเพราะเป็นวิชาเลือกทำให้เราต้องไปเรียนเพิ่มเติมเพื่อให้มีความรู้มากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อเราไปเข้าร่วมโครงการนี้แล้ว เราจะมีเวลาทบทวนภาษาญี่ปุ่นน้อยลงเนื่องจากการบ้านในแต่ละวันก็มีเยอะ ซึ่งโครงการนี้จะไม่มีชั้นเรียนคันจิและไวยากรณ์แต่ในชั้นเรียนส่วนใหญ่จะเน้นการนำภาษาญี่ปุ่นไปใช้มากกว่า จะเห็นได้ว่าในชั้นเรียนจะเน้นการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรม ความคิดและวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่น หลักการสัมภาษณ์ หลักการเขียน speech ฯลฯ มากกว่าการสอนเรื่องไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นคะ
3.ศึกษาวิธีการเดินทางในญี่ปุ่นไว้ล่วงหน้า
โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟ หลังจากที่เราได้รับตารางการเรียนมาแล้วควรจะดูก่อนว่าเราจะต้องเดินทางไปไหนหรือเดินทางไปทำกิจกรรมที่ไหนบ้าง เพื่อที่จะได้ศึกษาเส้นทางรถไฟก่อนเพราะหากเราไม่รู้จักเส้นทางที่จะเดินทางไป หรือชื่อสถานีต่างๆก็จะทำให้เราลำบากเวลาที่ต้องเดินทางคะ ซึ่งเราควรจะเตรียมตัวดูเส้นทางที่เราต้องเดินทาง จดจำชื่อสถานีรถไฟต้นทางและปลายทาง รวมถึงชื่อสถานีรถไฟที่เราต้องเปลี่ยนสายรถไฟด้วย ขณะเดินทางควรจะนำแผนที่ติดตัวไปด้วยคะหากอ่านคันจิไม่ออกควรหาแผนที่ที่เป็นอักษรฮิรางานะไปคะ (แผนที่ส่วนใหญ่ที่ทางศูนย์ฯแจกนั้นส่วนใหญ่เป็นคันจิคะ)
4. ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นไว้ให้มากที่สุด
เพราะเป็นสิ่งจำเป็นมากเนื่องจากโปรแกรมนี้เน้นการใช้งานจากความรู้ที่ได้เรียนมา ไม่เน้นการมาสอนไวยากรณ์หรือคำศัพท์และคันจิใหม่อีกครั้ง เนื่องจากระยะเวลาในโปรแกรมมีน้อย จึงเน้นใช้งานภาษาญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่เหมือนเป็นหลักสูตรเร่งรัดมากกว่าคะ และอาจารย์ก็มักจะให้เราแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับมุมมองประเทศญี่ปุ่นที่เรารู้จัก
5. ศึกษาเกี่ยวกับประเทศของเพื่อนๆที่มาเข้าร่วมโครงการ
เพื่อเพิ่มพูนความรู้รอบตัวให้กับเราเองเวลาที่เราไปพูดคุยกับเพื่อนๆจะได้มีหัวข้อในการสนทนา เพราะหากเราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับประเทศที่เพื่อนอยู่เลยเวลาที่คุยกันจะทำให้เราไม่มีเรื่องคุย และเป็นการสร้างความประทับใจให้กับเพื่อนเพราะเป็นการแสดงออกถึงความสนใจและใส่ใจในประเทศของเขา
6.เงินค่าใช้จ่ายตลอดโครงการนี้
เงินค่าใช้จ่ายตลอดโครงการนี้ที่ได้รับจากทางศูนย์ JF เพียงพอสำหรับการใช้ตลอด 6 สัปดาห์แต่หากต้องการซื้อของใช้หรือของฝากเพิ่มเติมควรจะนำเงินส่วนตัวไปด้วยคะ ซึ่งเงินที่ได้รับจากทางศูนย์นี้หากใช้อย่างประหยัดจะสามารถเก็บเงินกลับมาเมืองไทยได้จำนวนหนึ่งเลยคะ เพราะเงินสดที่ได้รับไม่รวมกับเงินในการ์ดที่เป็นค่าอาหารอยู่ที่ประมาณคนละ 80,000 เยนคะ หากใช้อย่างประหยัดก็จะทำให้เรามีเงินเก็บกลับมาได้เลยคะ
7.Dictionary ควรจะเตรียมไป
ทั้งที่เป็น ญี่ปุ่น-ไทย และ ไทย-ญี่ปุ่น จะดีมากเลยคะแต่ถ้าจะให้สะดวกกว่านี้ใช้ Electronic Dictionary ก็จะดีมากเลยคะเพราะเพื่อนๆส่วนใหญ่ก็ใช้ Electronic Dictionary กันคะเพราะสะดวกพกพาง่าย ถ้าซื้อ Electronic Dictionary ของไทยคำศัพท์ก็จะน้อยหน่อยคะแต่ดีกว่าตรงที่แปลเป็นไทยให้เข้าใจได้เลย แต่หากไปซื้อที่ญี่ปุ่นราคาจะถูกกว่าและคำศัพท์จะมีมากกว่า แต่ข้อเสียคือคำแปลเป็นภาษาอังกฤษและเมนูการใช้งานเป็นภาษาญี่ปุ่นซึ่งจะทำให้ยุ่งยากสำหรับคนที่ทักษะภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษไม่ดีคะ
8.จักรยาน
ควรขี่จักรยานให้เป็นคะเพราะส่วนใหญ่นักเรียนที่นี่มักจะใช้จักรยานในการไปซื้อของหรือทานอาหารที่ร้านบริเวณใกล้กับศูนย์ฯ ซึ่งจักรยานของที่นี่ห้ามซ้อนท้ายกันคะขี่ได้เพียงคนเดียวเท่านั้น เนื่องจากการซ้อนท้ายจักรยานมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้สูง จึงเป็นการลำบากหากเราขี่จักรยานไม่เป็นเวลาที่ต้องการไปซื้อของหรือเวลาที่เพื่อนๆขี่จักรยานไปเที่ยวแต่เราไม่สามารถไปด้วยได้
9.อาหารไทย
เพราะอาหารของประเทศญี่ปุ่นมีรสชาติจืดซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่มีรสชาติของอาหารจัดจ้านจึงอาจจะไม่ถูกปากคนไทย เราสามารถเตรียมเครื่องปรุงรสของเราไปเองได้คะ เช่น น้ำปลา พริก(พริกของญี่ปุ่นไม่ค่อยเผ็ดคะ) หรืออาจเตรียมน้ำพริกไปกินเพื่อเพิ่มรสชาติให้กับอาหารก็ได้คะ
10.ควรจะอยู่กับเพื่อนชาวต่างชาติ
เพราะจะทำให้เราได้ฝึกภาษามากกว่าอยู่กับเพื่อนคนไทยคะ และทำให้เราได้แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ความแตกต่างของเพื่อนแต่ละประเทศซึ่งก็จะทำให้เราได้รับความรู้มากขึ้น
11.ฝึกการตรงต่อเวลา
เพราะคนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเรื่องของเวลามากๆคะ โดยเฉพาะตารางเวลาของรถบัสและรถไฟซึ่งจะตรงเวลามากคะ การนัดหมายต่างๆควรจะไปก่อนเวลาอย่างน้อย 10 นาทีหากจะมาถึงล่าช้าควรโทรศัพท์แจ้งให้ผู้ที่เรานัดทราบก่อน
12.อัตราค่าปรับสัมภาระน้ำหนักเกิน
เวลาบินกลับเมืองไทยมีราคาสูงมากคะ สายการบิน JAL ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 ราคาค่าปรับน้ำหนักเกินกิโลกรัมละ 10,000 เยนคะ (ราคานี้เจ้าหน้าที่ที่ศูนย์ JF แจ้งให้เราทราบคะ) ซึ่งหากสัมภาระของเราน้ำหนักเกินแนะนำให้ส่งกลับทางไปรษณีย์จะดีกว่าคะ เร็วสุด (EMS) ส่งกลับมาประเทศไทยก็ 3 วันคะแต่หากเราไม่รีบเลือกส่งแบบ 7 วันมาถึงราคาจะถูกกว่าแบบ EMS ก็จะช่วยประหยัดไปได้อีกคะ
13.การติดต่อกลับมาประเทศไทย
ทางศูนย์มีการ์ดโทรศัพท์จำหน่ายคะสำหรับให้เราโทรกลับประเทศของเราและมีหลายราคาให้เลือก แต่ถ้าเปิดโรมมิ่ง (Roaming) สำหรับของดีแทคตอนนั้นจะเสียค่ารับสาย 25 บาทต่อนาที และเสียค่าโทรกลับไทยนาทีละ 78 บาทต่อนาที และค่าส่งข้อความ 12 บาทต่อข้อความ (แต่รับข้อความฟรีนะคะถ้ามีคนส่งมาจากเมืองไทย) ราคานี้ยังไม่รวม Vat 7% คะ
ส่วนวิธีที่ถูกกว่านั้นที่เราใช้ตอนที่อยู่ญี่ปุ่นคือใช้บัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศโทรจากไทยไปญี่ปุ่นเสียค่าใช้จ่ายนาทีละ 0.95 บาทโดยให้คนที่บ้านโทรมาหาคะและเวลาที่เราต้องการจะคุยก็โทรศัพท์ไป แล้วให้คนที่บ้านตัดสายทิ้งแล้วโทรกลับ (ดูรายละเอียดได้จาก www.thaitelephone.com) แต่ถ้าจะไม่เสียค่าใช้จ่ายเลยและเป็นวิธีที่เพื่อนๆส่วนใหญ่ทำกันคือติดต่อกันผ่านทาง MSN หรือ Skype คะ
เป็นคำแนะนำจากประสบการณ์พี่เองเลยเปล่าเนี่ยยยยย
ตอบลบ